เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๐สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯประกอบพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พ.ศ.๒๕๖๐ เมื่อพระราชพิธีสิ้นสุดลงนั่นหมายถึงนับจากนี้ไปประเทศไทยจะมีการเลือกตั้งฯอย่างเป็นทางการ
ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนี้ได้มีบทบัญญัติว่าด้วยเกี่ยวกับการเลือกตั้งหรือโรดแมพที่รับธรรมนูญได้กำหนดเอาไว้ว่าหลังจากนี้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการตามนั้น
ที่นี่เราจะมาดูโรดแมพการเลือกตั้งที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติเอาไว้ว่าหลังจากนี้ผู้ใดหน่วยงานใดจะต้องดำเนินการอย่างไรเพื่อให้การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นไปตามกฎหมายรับธรรมนูญ หลังจากนี้เมื่อรับธรรมนูญได้มีผลบังคับใช้แล้วก็จะมีการดำเนินการดังนี้
คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญที่มี นายมีชัย ฤชุพันธุ์เป็นประธานจะต้องดำเนินการออกกฎหมายตราร่าง พ.ร.บ ประกอบรับธรรมนูญจำนวน ๑๐ ฉบับ ได้แก่
พ.ร.บ.รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
พ.ร.บ.รัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
พ.ร.บ.รัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
พ.ร.บ.รัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
พ.ร.บ.รัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
พ.ร.บ.รัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
พ.ร.บ.รัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน
พ.ร.บ.รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
พ.ร.บ.รัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน
พ.ร.บ.รัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
การออก พ.ร.บ.ทั้ง 10 ฉบับนี้มีกรอบระยะเวลาสูงสุดที่จะต้องดำเนินการออก พ.ร.บ.ทั้ง10ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน ๘ เดือน หรือ ๒๔๐ วัน โดยนับจากวันที่ประกาศใช้รับธรรมนูญหากใช้เวลาดำเนินการเต็มตามกำหนดดังกล่าวในการผ่าน พ.ร.บ.ที่กล่าวมาทั้งหมดก็จะไปเสร็จสิ้นในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๐ หลังจากนั้นจะต้องส่งต่อไปยัง สนช.หรือสภานิติบัญญัติแห่งชาติใช้เวลาพิจารณาไม่เกิน ๖๐ วันหรือ ๒ เดือน หากมีความเห็นแตกต่างหรือขัดแย้งกันก็จะต้องมีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อพิจารณาร่วมกันโดยจะใช้เวลาอีกไม่เกิน ๓๐ วันเท่ากับว่าในขั้นตอนนี้จะเสร็จสิ้นในราวเดือน ม.ค-ก.พ.๖๑ และเมื่อพิจาณาออก พ.ร.บ.ดังกล่าวเสร็จแล้วก็จะต้องนำขึ้นทูลเกล้าทฯถวายพระมหากษัตริย์ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยภายในระยะเวลา 3 เดือนเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย จากนั้นกฎหมายกำหนดไว้ว่าจะต้องมีการจัดการเลือกตั้งภายใน 150 วันต่อจากนี้
ดังนั้นจึงทำให้ทราบได้ว่าการเลือกตั้งของไทยจะมีขึ้นในราวช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม ๒๕๖๑รวมระยะเวลาทั้งหมด 19 เดือน หรือ 1 ปี 7 เดือน ซึ่งก็เป็นไปตามโรดแมพการเลือกตั้งของประเทศไทยตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ แต่อย่างไรตามแม้ว่ารัฐธรรมนูญจะมีการบังคับใช้แล้วคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะยังคงใช้อำนาจตามมาตรา 44 ได้ เพราะมาตรา 265 ยังให้ คสช. อยู่ต่อ มีอำนาจออกคำสั่ง ม.44 ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2557 ได้ต่อไปจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่เกิดขึ้น และนี่ก็คือ โรดแมพการเลือกตั้งของไทยที่เราคนไทยควรรู้