
ระบบการเลือกตั้งใจในปัจจุบันเป็นอย่างไร
ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทยมาพร้อมกับระบบการเลือกตั้งรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า ‘ระบบจัดสรรปันส่วนผสม’ ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2560
ระบบการเลือกตั้งใจในปัจจุบันเป็นอย่างไร ? มาศึกษากัน
- ส.ส. หรือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร – มี 2 ประเภท คือ ส.ส. แบบแบ่งเขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หรือพรรคการเมืองนั่นเอง มีจำนวนทั้งสิ้น 500 คน ดำรงตำแหน่ง 4 ปี
- ส.ว. หรือ สมาชิกสภาวุฒิสภา – มาการจากแต่งตั้ง มีทั้งสิ้น 200 คน ดำรงตำแหน่ง 5 ปีวาระเดียว
ระบบการเลือกแบบใหม่นี้ เกิดความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอย่างยิ่ง สำหรับประเด็นที่น่าสนใจที่จำเป็นต้องศึกษาได้แก่…
สำหรับระบบเลือกตั้งใหม่ประจำปี พ.ศ. 2562 เรียกว่า ‘ระบบจัดสรรปันส่วนผสม’
- ส.ส. 500 คน แบ่งออกเป็นส.ส.เขต 350 คน / ส.ส.บัญชีรายชื่อ 150 คน
- โดยประชาชนเป็นผู้เลือก ส.ส. แบ่งเขต / ส.ส.บัญชีรายชื่อจะเป็นผู้คิดค้นตามสูตรคำนวณแบบใหม่
- เป็นการเลือกตั้งแบบ One Man One Vote หรือ 1 คน 1 เสียง
- ผู้สมัครส.ส.ประจำเขต ที่ได้คะแนนมากที่สุด ณ เขตนั้น ก็จะได้ขึ้นมาเป็น ส.ส. หากแต่ต้องผ่านเงื่อนไขเมื่อมีคะแนนมากกว่าคะแนนโหวต No ด้วย
- ถ้าผู้สมัคร ส.ส. เขต ได้คะแนนเท่ากัน จะมีการตัดสินให้จับฉลากต่อหน้า กกต. ประจำเขต
- คะแนนเสียงทั้งหมด เมื่อนำมาคำนวณสัดส่วน ก็จะทราบได้ว่าในแต่ละพรรคจะได้จำนวน ส.ส. เท่าใดจากจำนวนที่นั่ง ส.ส. ทั้งหมด
- โดยนายกรัฐมนตรี ไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส. และทางพรรคการเมืองก็จะต้องแจ้งรายชื่อ ของผู้ที่จะเป็น นายกรัฐมนตรีแก่สภา พรรคละไม่เกิน 3 รายชื่อเท่านั้น ต่อมาทางกกต. ก็จะประกาศให้ประชาชนได้พิจารณาเพื่อลงคะแนนเสียงให้แก่พรรคนั้น
การเลือก ส.ส.แบบแบ่งเขต
- สำหรับการเลือกส.ส.แบบใหม่ ประจำปี พ.ศ.2562 จะเหลือบัตรเพียงใบเดียวเท่านั้น หากแต่จะแบ่งออกเป็น ส.ส. 2 ระบบ ได้แก่ ส.ส. แบ่งเขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ โดยในแต่ละคนก็จะมี 1 คะแนนเสียง
- ในส่วนของ ส.ส. ระบบเขต แบ่งออกเป็น 350 คน โดยผู้สมัครส.ส. จะได้เบอร์ตามที่จับได้ แบบไม่ได้แบ่งเขต
- ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ผู้สมัครของพรรค A ใน กทม. เขต 1 จับได้เบอร์ 9 และ ผู้สมัครของพรรค A ใน กทม. เขต 2 อาจจับได้เบอร์ 1 เป็นต้น เพราะฉะนั้นภายใน 30 เขตเลือกตั้งของ กทม. ก็จะทำให้พรรค A จะแบ่งออกเป็นหลายหมายเลขของผู้สมัคร
เพราะฉะนั้นสำหรับประชาชน จึงจำเป็นต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างสูง ต้องมีสติในการกาบัตร อีกทั้งยังจำเป็นต้องจำเบอร์ของหมายเลขผู้สมัครที่คุณต้องการจะเลือกให้ได้ เพราะฉะนั้นถ้าคุณเลือกผิดเบอร์ คะแนนก็อาจจะตกเป็นของพรรคอื่นที่คุณไม่ได้ตั้งใจจะเลือกได้ สุดท้ายแล้ว ในการนับคะแนน ผู้สมัครส.ส.เขต ที่ได้คะแนนเสียงมากที่สุด ก็จะได้เป็น ส.ส.

ประวัติเส้นทางการเลือกตั้งครั้งแรกของประเทศพม่า
หลังจากที่นางออง ซาน ซูจี และพรรคของเธอได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งเป็นรัฐบาล แต่ก็ต้องเป็นอันโมฆะไป ซึ่งเป็นไปตามกฎระเบียบข้อบังคับผู้มีคุณสมบัติในการเข้าสมัครเป็นประธานาธิบดีจะต้องมีพ่อแม่ และคู่สมรสที่เป็นคนสัญชาติเดียวกันเท่านั้น เนื่องจากนางออง ซาน ซูจี ได้แต่งงานกับชายชาวอังกฤษ พร้อมกับมีลูกสองคนที่ถือสัญชาติอังกฤษ
เป็นผลให้ถูกถอนจากการเลือกตั้ง และถูกกักบริเวณในที่สุด
จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้สถานการณ์ภายในประเทศเมียนม่าอยู่ในภาวะที่ไม่ปกติ จากความกดดันของนานา ประเทศที่ต้องการผลักดันให้เมียนม่าปกครองด้วยระบบประชาธิปไตย และต้องการให้มีการปล่อยตัวนางออง ซาน ซูจี พร้อมกับยอมรับผลของการเลือกตั้งที่เธอได้รับ
สรุปเรื่องราวต่าง ๆ ในประเทศเมียนมาอย่างคร่าว ๆ
1. นางออง ซาน ซูจี และพรรคของเธอหวังจะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างเป็นธรรม
2. ปัจจุบันเธอยังคงถูกห้ามไม่ให้ขึ้นตำแหน่งประธานาธิบดี
3. สหประชาชาติมีการเฝ้าจับตาดู และประกาศเตือนห้ามไม่ให้มีการโกงผลการเลือกตั้งใด ๆ
4. พรรคคู่แข่ง USDP ประกาศว่าจะได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นจาก 75 เปอร์เซ็นของผลการเลือกตั้ง
ประวัติทางการเป็นเมืองขึ้นของเมียนมา
1. ในปี 1947 หลังจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 บิดาของนางออง ซาน ซูจี ได้ประกาศความเป็นเอกราช และได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ ต่อมาอีก 1 เดือนเขาได้ถูกสังหารโดยคู่แข่งทางการเมือง พร้อมกับสมาชิกในพรรคของเขาอีก 6 คน
2. ปี 1948 นายอู นู ได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี และได้รับเอกราชคืนจากอังกฤษ
3. ปี 1962 นายพลเน วิน ได้ทำการรัฐประหารและยึดการปกครองประเทศ
4. ปี 1990 นางออง ซาน ซูจี ชนะการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในรอบ 30 ปี แต่รัฐบาลทหารปฏิเสธผลการเลือกตั้ง
5. ปี 2008 หลังจากการลงประชามติ และประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
6. ปี 2010 รัฐบาลทหารสนับสนุนพรรค USDP โดยใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เอื้อประโยชน์ และมีผลเลือกตั้งที่ไม่สุจริต
7. ปี 2011 มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่
8. ปี 2012 พรรค NLD ของนางออง ซาน ซูจี ชนะการเลือกตั้ง 43 ที่นั่ง จากทั้งหมด 45 ที่นั่งในสภา
หลังจากการตั้งรัฐบาลใหม่ที่เน้นการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของประชาธิปไตยให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยการผลักดันจากสหประชาชาติ และนานาประเทศ จนเกิดผลลัพธ์ที่น่ายินดี จากนั้นไม่นานนางอองซานซูจีได้ถูกปล่อยตัว พร้อมกับได้เดินทางไปทั่วประเทศ เพื่อพบปะกับผู้คนของเธอ รวมทั้งผู้สนับสนุนทางการเมืองต่าง ๆ จนในที่สุดได้ทำให้ประเทศเมียนมาเปิดรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามาเยี่ยมชมความสวยงามในประเทศ

จุดเกิดเนิดและประวัติศาสตร์อันยาวนานของการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งมีมาตั้งนานมากแล้วกว่าหลายพันปี เมื่อสมัยอดีตกาล ย้อนกลับเมื่อถึงยุคกรีซโบราณ และในสมัยกรุงโรมยังรุ่งเรือง ต่อมายังยุคสมัยเวทที่มีตำแหน่ง ราจา (Raja) ของเผ่าเก่าแพ่อย่าง Gara โดยตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งเทียบเท่ากษัตริย์ซึ่งปกครองทางใต้ของเอเชีย ส่วนอิสตรีจะเรียกว่า “รานี” (Ranee) ซึ่งเปรียบเสมือนพระราชินี โดยการที่จะมาเป็นราจา ได้นั้น ต้องได้รับผ่านการรับเลือกเพียงเท่านั้น บุคคลนั้นจะต้องเป็นนักรบชั้นสูง (Kshatriya varna) และเป็นบุตรของราจาคนก่อน
โดยต่อมาวิธีคัดเลือกได้ถูกเปลี่ยนมาใช้การเลือกโดยส่งตัวแทนของแต่ละฝ่ายออกมา โดยใช้กล่องคะแนนเสียง (ในสมัยนั้นใช้หม้อ หรือไห) ในการหย่อนกระดาษของผู้ลงคะแนน กระดาษจะถูกปิดผนึกและมัดอย่างแน่นหนาจนกว่าจะมีการเรียกนับคะแนน ต่อมาในยุคสมัยจักรวรรดิปาละ ซึ่งถือเป็นตำแหน่งที่ต้องถูกเลือกจากคณะขุนนางกลุ่มหนึ่ง จนตั้งแต่นั้นมา การเลือกตั้งก็แพร่ขยายไปเกือบทั่วทั้งทวีป
การเลือกตั้งในปัจจุบันใช้เวลานานพอสมควรกว่าจะเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพอย่างทุกวันนี้ โดยเริ่มมีระบบแบบนี้ให้เห็นกันตั้งแต่ในช่วงศตวรรษที่ 17 ซึ่งประเทศบางกลุ่มได้มีไอเดียในการที่จะแก้ไขการเลือกตั้งให้มีประสิทธิภาพขึ้น โดยเริ่มใช้ในแถบอเมริกาเหนือ รวมไปถึงทวีปยุโรป เช่น ประเทศอังกฤษ และปัญหาที่ตามมาคือสิทธิในการเลือกตั้ง ใครบ้างที่สามารถออกเสียงได้ ในสมัยนั้นผู้หญิงแทบจะไม่ได้สิทธิเท่าผู้ชาย จนช่วงปี 1920 หลายประเทศเริ่มให้ความสำคัญของสตรีและผลักดันให้ผู้หญิงสามารถลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้
ในหลายครั้งที่ประเทศลัทธิอำนาจนิยม เลือกที่จะใช้การเลือกตั้งเป็นเครื่องมือในการหลอกผู้คน ทำให้มีความหวังในเสรีภาพอันหลอกลวง ทำไมพวกเขาถึงกล้าที่จะให้มีเลือกตั้งเกิดขึ้นในประเทศได้น่ะเหรอ มีเพียงเหตุผลเดียวเท่านั้น เพราะผู้ลงสมัคร หรือคู่แข่งของพวกเขาทุกคนล้วนอยู่ใต้การควบคุมของรัฐบาลตนเองทั้งสิ้น
สิทธิในการออกเสียง หัวใจของการเลือกตั้ง
คำถามคือใครบ้างที่สามารถจะออกเสียงลงคะแนนได้ แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนในประเทศที่จะลงคำแนนเลือกตั้งได้ทั้งหมดทุกคน แต่ในหลายประเทศมีการจำกัดช่วงอายุขั้นต่ำของผู้ลงคะแนน คุณสมบัติสำคัญคือจะต้องเป็นประชาชนที่ถือสัญชาติในประเทศนั้น ๆ และมีบัตรประจำตัว หรือฐานข้อมูลอยู่ในระบบของรัฐ ส่วนในบางประเทศก็อาจมีข้อห้ามในรูปแบบอื่น ๆ อย่างเช่นในกลุ่มชนพื้นเมืองชาวออสเตรเลีย ไม่สามารถที่จะลงคะแนนเลือกตั้งได้จนกระทั่งเมื่อปี 1962 ที่ผ่านมาได้มีการอนุญาติให้พวกเขามีสิทธิในการลงคะแนนได้ตามกฏหมาย ในช่วงปี 2010 รัฐบาลหลายประเทศได้มีการถอดถอนสิทธิในการลงคะแนนเลือกตั้งของนักโทษออกไป

การเลือกตั้งในประเทศอื่นๆเป็นแบบไหนอย่างไร
การเลือกตั้งในประเทศเยอรมนี
ระบบการเมืองของประเทศเยอรมัน
1. มีการเลือกตั้งสหพันธ์ทุกๆ 4 ปี ให้ทำการจัดการเลือกตั้งภายในระยะเวลา 46 – 48 เดือน หลังการประชุมบุนเดชตัก หรือสามารถจัดการเลือกตั้งก่อนได้ ในกรณีมีเรื่องพิเศษทางรัฐธรรมนูญ
ผู้ที่มีสัญชาติเยอรมันอายุเกิน 18 ปี ซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศเยอรมนีอย่างน้อย 3 เดือนมีสิทธิเลือกตั้ง สภานิติบัญญัติสหพันธ์ในประเทศเยอรมนีมีรัฐสภา 1 สภา ได้แก่ บุนเดชตัก ส่วนบุนเดซรัท จะเป็นตัวแทนของภูมิภาคไม่ถือว่าเป็นสภาเนื่องจากสมาชิกไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง การเลือกตั้งสมาชิกนี้ใช้ระบบสัดส่วนสมาชิกผสม คือ ผู้ออกเสียงลงคะแนนมี 2 คะแนนเสียง คะแนนแรก ให้ใช้เลือกสมาชิกบุนเดชตักในเขตเลือกตั้งของตัวเอง คะแนนเสียงที่ 2 ออกเสียงให้แก่พรรคการเมือง ถ้าพรรคการเมืองใดได้รับคะแนนเสียงต่ำสุด ที่นั่งทั้งหมดโดยกำหนดในการจัดสรรในสัดส่วนตามคะแนนเสียงที่ 2 แปลว่า พรรคการเมืองที่ชนะในเขตในรัฐ 1 มากกว่าผู้มีสิทธิตามจำนวนของคะแนนเสียงพรรคการเมืองอันได้ในรัฐนั้นซึ่งคอยเก็บที่นั่งส่วนเกินเหล่านั้นไว้
การเลือกตั้งประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกา
การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกานั้น มีขั้นตอนค่อนข้างละเอียด แต่ข้อสำคัญแน่ๆ คือ คนที่มาจากทุกอาชีพ และเป็นอาชีพอันสุจริตล้วนมีโอกาสได้เป็นประธานาธิบดีกันทั้งสิ้น
คุณสมบัติของผู้สมัครประธานาธิบดี
ต้องมีอายุ 35 ปีขึ้นไป มีสัญชาติอเมริกันตั้งแต่เกิด ต้องอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกามาไม่ต่ำกว่า 14 ปี ไม่เคยเป็นประธานาธิบดีมาแล้ว 2 สมัย และอื่นๆอีกมากมาย
การหยั่งเสียงในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกา มี 3 วิธี ได้แก่
1) primary เป็นการจัดการเลือกตั้งขั้นต้น
2) caucus มีการจัดประชุมย่อยของสมาชิกพรรคในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับเริ่มต้น เพื่อร่วมกันเสนอความคิดเห็น
3) state-covention เป็นการจัดประชุมใหญ่ในระดับมลรัฐ เพื่อร่วมกันคัดเลือกผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดให้ไปเป็นตัวแทนพรรคไปแข่งกับคนจากพรรคอื่นสืบต่อไป
จากวิธีดังกล่าว จะทำให้ได้ผู้แทนหรือ delegates มาจำนวนหนึ่ง เพื่อเข้าสู่กระบวนการเลือกต่อไป พอหลังจากจบการประชุมใหญ่ของพรรคเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ให้เหลือตัวแทนพรรคเพียงแค่ 1 คน ถ้าคนนี้สามารถเข้าไปเลือกผู้แข่งขันได้ในครั้งแรกของการประชุมพรรค หรือ first ballot victory
การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ดังที่ได้กำหนดให้ วันอังคารหรือหลังวันจันทร์แรกในเดือนพฤศจิกายน เป็นวันลงคะแนนเสียงสำหรับประชาชนผู้ที่ได้ลงทะเบียนเอาไว้แล้วในเขตเลือกตั้งของตนเอง ยกตัวอย่างเช่น วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เป็นวันลงคะแนนเสียง ซึ่งคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็คือ มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ , มีสัญชาติอเมริกัน , มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเลือกตั้งนั้นๆ เป็นต้น

พรรคการเมืองในพม่ามีกี่พรรคอะไรบ้าง
การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศพม่า จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนประชาชน จำนวน 323 ที่นั่ง จาก 440 ที่นั่ง จำนวน 110 ที่นั่งที่เหลือ เป็นโควตาพิเศษอันได้รับจาก ผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพ ส่วนอีก 7 ที่นั่ง จะไม่มีการเลือกตั้ง เพราะคณะกรรมการหวั่นเกรงเรื่องความปลอดภัย
2. สมาชิกวุฒิสภา มีการเลือกตั้ง 168 ที่นั่ง จากทั้งหมด 224 ที่นั่ง ซึ่งเป็นการเลือกสมาชิกวุฒิสภา 12 คนจากแต่ละเขต อีก 56 ที่นั่ง เป็นโควตาจากผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพ
3. สภาระดับภาคและรัฐ จะมีการเลือกตัวแทนจำนวน 637 คนเข้าไปนั่งในสภาระดับภาคและรัฐฯ
ในศึกการเลือกตั้งสมาชิกสภาในพม่าในปี พ.ศ. 2558 มีพรรคการเมืองมากถึง 93 พรรค แต่สุดท้าย ก็มีเพียงแค่ 2 พรรคการเมืองใหญ่เท่านั้น ที่ได้มาประชันหน้ากันในศึกเลือกตั้งครั้งนี้ ได้แก่ พรรคสหสามัคคีและการพัฒนา ภายใต้การนำของ ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง โดยเป็นพรรครัฐบาลในปัจจุบัน เจอกับ พรรคสันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย โดยมีคนดังอย่างนาง ออง ซาน ซูจี นำทัพ
พรรคการเมืองในพม่าซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังมีจำนวน 11 พรรค ดังนี้
– พรรคชินก้าวหน้า
ก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 2010
– พรรคประชาชนกะเหรี่ยง
ก่อตั้งเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2010
– พรรคประชาธิปไตย
เป็นพรรคประชาธิปไตย ซึ่งก่อตั้งหลังจากเกิดเหตุการณ์การก่อการกำเริบ 8888 ในประเทศพม่า โดยก่อตั้งในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1988 แต่ต่อมาถูกรัฐบาลทหารสั่งแบน ในวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1992
– พรรคพลังประชาธิปไตยแห่งชาติ
เป็นพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ซึ่งแยกตัวออกมาจากพรรคสันนิบาตแห่งชาติรัฐฉานเพื่อประชาธิปไตย ของ นางออง ซาน ซูจี ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2553 เพราะมาจากการไม่เห็นด้วยกับแนวทางการต่อสู้ของพรรคดังกล่าว เพราะประกาศคว่ำบาตรการเลือกตั้ง จนทำให้พรรคถูกยุบ
– พรรคสหรัฐว้า
เป็นหน่วยแห่งกองทัพสหรัฐว้า ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2532 เป็นกลุ่มสมาชิกของสภาแห่งชาติว้า ซึ่งไม่เป็นคอมมิวนิสต์ รวมทั้งเคยเป็นสมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต์พม่ามาก่อน
– พรรคสหสามัคคี
ก่อตั้งโดยพลเอกเตง เส่ง ผู้บริหารพรรค เป็นอดีตนายทหารหลายนาย ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งในคณะรัฐบาลทหารแต่ต่อมาก็ได้ลาออกจากตำแหน่งกลายมาเป็นพลเรือน จนเข้ามาเป็นสมาชิกพรรค
– พรรคสันนิบาตแห่งชาติรัฐฉานเพื่อประชาธิปไตย
มีสมาชิกเป็นทั้งชาวไทใหญ่ กับชนกลุ่มน้อย มีบทบาทในการเคลื่อนไหวภายในพม่าเป็นหลัก
– พรรคแห่งชาติกะยัน
มีสมาชิกประมาณ 200 – 700 คน ( พ.ศ. 2544 ) อีกทั้งเป็นส่วนหนึ่งของแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติ
– พรรคแห่งชาติฉิ่น
ตั้งมาเพื่อเป็นตัวแทนของชาวฉิ่น
– พรรคเอกภาพแห่งชาติ
ก่อตั้งโดย นายพลเน วิน ต่อมาเมื่อเกิดเหตุการณ์การก่อการกำเริบ 8888 อันส่งผลให้ประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก นายพลเน วิน ต้องออกจากตำแหน่ง และได้เปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคเอกภาพแห่งชาติ
– สันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย
ตั้งมาเพื่อต่อต้านสภาฟื้นฟูระเบียบและกฎหมายแห่งรัฐ ซึ่งเข้ายึดอำนาจในการปกครองในนามของคณะทหาร ผู้ก่อตั้งพรรคได้แก่นาง อองซาน ซูจี , อ่องจี , ติ่นจู

อุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตยของไทย
ต้องยอมรับว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยจะเน้นในเรื่องของการมีสิทธิเสรีภาพของผู้คนที่อาศัยในประเทศนั้นๆ เป็นหลัก ทำให้ทุกคนต่างก็มีสิทธิ์มีเสียงในการนำเสนอสิ่งต่างๆ หากมองว่าเป็นสิ่งที่สามารถสร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับคนอื่นๆ ได้มากมาย อย่างไรก็ตามแม้ทุกคนจะมีสิทธิ์ในการออกเสียงแต่สุดท้ายมันก็จะต้องหยุดอยู่ที่ว่าเสียงข้างมากเป็นอย่างไรอยู่ดี ถึงกระนั้นประเทศไทยของเราก็ยังคงมีอุปสรรคมากมายในการการพัฒนาประชาธิปไตย
อุปสรรคของการพัฒนาประชาธิปไตยของไทย
- ขาดความรู้ความเข้าใจในการเป็นประชาธิปไตย – พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือคนไทยมักจะยังคงนิยมการเลือกตังแบบตัวบุคคลมากกว่าเรื่องของนโยบายซึ่งเอาเข้าจริงสิ่งเหล่านี้ยังถือว่าเป็นการไม่รู้จักประชาธิปไตยอย่างแท้จริง รวมไปถึงการเอาผลประโยชน์ของตนเองเป็นหลักมากกว่าการนึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวม เรื่องของการซื้อสิทธิ์ขายเสียงที่ถือว่าเป็นข้อห้ามสำคัญของประชาธิปไตยแต่เรายังคงเห็นได้ในประเทศไทย รวมไปถึงการใช้อิทธิพลเพื่อคดโกงการเลือกตั้งให้พรรคพวกของตนเองเป็นผู้ชนะเพื่อหาผลประโยชน์ต่อไป
- ผู้สมัครรับเลือกตั้งขาดคุณสมบัติที่เหมาสม – แค่การใช้อิทธิพลของตนเองในพื้นที่การเลือกตั้งที่ตนเองลงสมัครรับเลือกตั้งเอาไว้แต่นี้ก็ถือว่าเป็นการขาดคุณสมบัติที่ดีของผู้สมัครรับเลือกตั้งแล้ว เพราะการลงสมัครรับเลือกตั้งที่ถูกควรใช้ประชาชนเลือกจากความสามารถไม่ใช่การใช้อิทธิพลหรือการมีชื่อเสียงของตนเอง แล้วคิดดูว่าเมื่อเลือกคนที่มีอิทธิพลแต่ไม่มีความสามารถเข้าไปมันก็ยิ่งทำให้ประเทศไทยไม่พัฒนา
- ระบบการเลือกตั้งขาดความรอบคอบ รัดกุม – ทั้งการปล่อยให้นักธุรกิจที่แฝงตัวในคราบนักการเมืองเข้าไปมีสิทธิ์มีเสียงในภายในรัฐสภาด้วยการซื้อเสียง การติดสินบน หรืออื่นๆ เมื่อคนพวกนี้เข้าไปแล้วก็จะคิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตนที่ควรได้โดยไม่ได้มีการคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งตรงจุดนี้ต้องยอมรับว่าระบบการเลือกตั้งไทยยังไม่รัดกุมมากพอจึงปล่อยคนเหล่านี้ให้เข้าไปได้
- มีพรรคการเมืองเยอะเกินไป – เมื่อมีพรรคเล็กเยอะเกินไปก็เป็นโอกาสที่นายทุนจากพรรคใหญ่จะซื้อเสียงกับพรรคเล็กๆ ที่มีฐานเสียงในแต่ละพื้นที่ให้เข้ามาเป็นสมาชิกของตนเอง ซึ่งเมื่อพรรคเยอะเกินไประบบการบริหารประเทศก็จะวุ่นวายตามไปด้วยจากจำนวนคนที่มากเกิน
- รัฐบาลมีความอ่อนแอและการทุจริต – เป็นปัญหาหลักอีกข้อที่ทำให้ประชาธิปไตยของไทยไม่มีการพัฒนา เมื่อรัฐบาลอ่อนแอ มีการทุจริต ก็เกิดการประท้วง ขับไล่ ประเทศชาติก็ไม่เกิดการพัฒนาไปข้างหน้าแถมยังมีปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจอีกต่างหาก

พฤติกรรมในการเลือกตั้งของคนไทย
ด้วยความที่ประเทศไทยของเราปกครองกันด้วยระบอบประชาธิปไตยเพราะฉะนั้นการเลือกตั้งของบ้านเราจึงเป็นเรื่องปกติที่คนไทยเมื่ออายุถึงเกณฑ์การเลือกตั้งก็ต้องทำหน้าที่การเป็นพลเมืองไทยที่ดีในการเลือกตั้งตามกฎหมาย ปกติแล้วการเลือกตั้งนั้นจะต้องมีการตรวจสอบรายชื่อของที่อยู่ตามทะเบียนบ้านว่าเรามีสิทธิ์ในการเลือกตั้งที่คูหาใด หรือหากใครที่รู้ตัวเองว่าไม่สามารถไปเลือกตั้งในวันที่มีการเลือกตั้งได้ก็จะมีการกำหนดวันเลือกตั้งล่วงหน้าให้ประชาชนเหล่านี้ได้มีโอกาสพิจารณาว่าจะสามารถใช้สิทธิ์ของตัวเองในวันเลือกตั้งล่วงหน้าได้หรือไม่ อย่างไรก็ตามพฤติกรรมที่เรายังคงพบเจอได้บ่อยๆ จากการเลือกตั้งของคนไทยจะประกอบไปด้วยสิ่งต่างๆ เหล่านี้
พฤติกรรมการเลือกตั้งของคนไทยที่สามารถพบเจอได้
- เลือกเพราะชอบในตัวนักการเมือง – การเลือกตั้งในลักษณะนี้ยังเป็นพฤติกรรมที่คนไทยจำนวนมากใส่ใจมากกว่าเรื่องของตัวนโยบายหรือการพัฒนาประเทศ ทำนองว่าถ้าหากชอบนักการเมืองคนไหนแล้วเมื่อถึงเวลาเลือกตั้งก็พร้อมจะทำหน้าที่ในการเลือกตั้งพรรคการเมืองที่นักการเมืองคนดังกล่าวสังกัดอยู่ให้ชนะการเลือกตั้ง
- การเลือกจากนโยบายพรรคการเมือง – อันที่จริงพฤติกรรมการเลือกตั้งของคนไทยลักษณะนี้ก็มีอยู่ในระดับหนึ่งแต่จะว่าไปแล้วอาจไม่เยอะเท่ากับการเลือกเพราะชื่นชอบในตัวนักการเมืองหรือพรรคการเมืองนั้นๆ ส่งผลให้การเลือกในลักษณะนี้ยังมีกระจัดกระจายอยู่ไม่เยอะและคนที่เลือกในลักษณะนี้ก็จะเป็นคนที่มีพฤติกรรมคิดวิเคราะห์ก่อนการเลือกตั้งเสมอ
- การเลือกเพราะมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียง – นี่ก็เป็นอีกพฤติกรรมที่เรายังคงพบเจอได้บ่อยๆ แม้จะไม่ได้มีการบ่งบอกว่าคนไหนทำการซื้อสิทธิ์ขายเสียงไปบ้างแต่พฤติกรรมการเลือกตั้งแบบนี้สามารถเปลี่ยนผลการเลือกตั้งได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียวจึงไม่แปลกใจว่าทำไมคนที่สมัครรับเลือกตั้งไม่ว่าจะเป็นแบบไหนก็ตามแต่ยังคงนิยมทำการซื้อสิทธิ์ขายเสียงกันมาจนถึงทุกวันนี้
- การไมไปเลือกตั้ง – เป็นอีกพฤติกรรมในการเลือกตั้งของคนไทยที่สามารถพบเห็นได้ แม้บางคนจะบอกว่าพักอาศัยอยู่ไกลจากทะเบียนบ้านของตนเองทำให้ไม่สามารถเดินทางไปเลือกตั้งได้ แต่บางคนถึงแม้จะใกล้แต่ก็ไม่ได้เคยใส่ใจกับการเลือกตั้งอยู่แล้วเช่นกัน
พฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมการเลือกตั้งของคนไทยที่สามารถพบเจอได้ทุกครั้งในการเลือกตั้งไม่ว่าจะเป็นระดับไหนก็ตาม ถือว่าเป็นพฤติกรรมที่จริงๆ แล้วก็มีทั้งด้านดีและบ้างด้านก็ยังไม่ดีอย่างที่ควรจะเป็น ยังมีสิ่งที่ต้องปรับอีกหลายๆ ด้าน

ปัญหาอะไรที่พบในการเลือกตั้งบ้าง
ด้วยความที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในยุคปัจจุบัน เพราะฉะนั้นการจะมีผู้นำประเทศขึ้นมาได้ต้องเกิดจากความเห็นของประชาชนทั้งประเทศโดยนับเอาเสียงส่วนใหญ่ยึดถือเป็นสำคัญ นั่นก็หมายความว่าระบบการเมืองของไทยโดยพื้นฐานแล้วจะต้องมีการเลือกตั้งเพื่อหานายกรัฐมนตรีขึ้นมาดำรงตำแหน่งสูงสุดในการบริหารปกครองประเทศ อย่างไรก็ตามจะว่าไปแล้วการเลือกตั้งของไทยตั้งแต่ไหนแต่ไรมาก็มักมีปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นมากมายจนทำให้เสถียรภาพทางการเมืองของไทยไม่สามารถพัฒนาไปไกลได้อย่างที่ควรจะเป็น เอาแค่ว่าปัญหาที่สามารถพบได้ในการเลือกตั้งก็มีมากมายเต็มไปหมดแล้ว
ปัญหาที่มักพบเจอในการเลือกตั้ง
- การซื้อสิทธิ์ขายเสียง – เป็นปัญหาระดับชาติที่เราได้ยินกันจนชินชา แต่ถึงแม้ว่าการเลือกตั้งทุกครั้งจะต้องเจอกับคำพูดเหล่านี้ทว่ากลับยังคงมีปัญหาเรื่องลักษณะนี้เกิดขึ้นเป็นประจำ การซื้อสิทธิ์ขายเสียงก็คือการที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองมีการสมนาคุณแลกเปลี่ยนกับผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไม่ว่าจะเป็นการให้เงิน การให้สินบน หรือการให้สิ่งอื่นๆ ที่มีมูลค่าโดยมีข้อแม้ว่าผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งนั้นจะต้องเลือกพรรคของตน ถือว่านี่เป็นปัญหาระดับชาติที่ไม่รู้ว่าจะสามารถแก้ไขได้เมื่อไหร่เหมือนกัน
- การสวมสิทธิ์เลือกตั้ง – ปกติแล้วเวลาเกิดการเลือกตั้งในบ้านเราแน่นอนว่าคนที่เข้าไปเลือกตั้งยังไงก็ไม่มีทางครบ 100% เต็ม โดยเฉพาะคนที่ทำมาหากินต่างบ้านต่างเมืองไม่สามารถเดินทางไปเลือกตั้งในวันเลือกตั้งได้เพราะทะเบียนบ้านอยู่คนละที่กับที่พักอาศัยในปัจจุบัน ยิ่งคนไหนไม่เคยมีรายชื่อในการเข้าไปเลือกตั้งเลยโอกาสการโดนสวมสิทธิ์การเลือกตั้งย่อมมีสูง การสวมสิทธิ์ก็คือการใช้เปลี่ยนแปลงเอกสารให้เป็นชื่อของคนๆ นั้นแล้วเข้าไปเลือกตั้งแทน
- การนับคะแนน – ปัญหาการนับคะแนนในบางครั้งก็ยังถือว่าเป็นปัญหาของการเลือกตั้งเช่นกัน ส่วนหนึ่งก็มาจากหากคูหาเลือกตั้งไหนหรือการเลือกตั้งครั้งไหนต้องขนหีบเลือกตั้งไปรวมกันเพื่อนับคะแนนตามที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขต ทุกอย่างมันอาจมีลูกเล่นที่ทำให้คะแนนเปลี่ยนไปได้นั่นเอง ส่งผลให้การเลือกตั้งหลายครั้งในทุกวันนี้จะนับคะแนนกันที่คูหาเลือกตั้งเลย
ปัญหา 3 ข้อที่ว่านี้ถือเป็นปัญหาที่เราสามารถพบได้แทบจะทุกครั้งในการเลือกตั้งไม่รวมปัญหายิบย่อยต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้บ้าง เช่น การฉีกบัตรเลือกตั้ง, การสร้างความวุ่นวายระหว่างการเลือกตั้ง และอื่นๆ แสดงให้เห็นว่าจริงๆ แล้วประเทศไทยเองก็ยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับการเลือกตั้งเสมอมาแม้มีระบอบประชาธิปไตยนานแล้วก็ตาม

การเลือกตั้งนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร
ประเทศไทยของเรามีระบอบการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุข ถ้าจะย้อนกลับไปดูถึงที่มาที่ไปของระบอบการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตยซึ่งมีการเลือกตั้งเป็นเสมือนเครื่องมือหลักของระบอบแล้วละก็ คงต้องย้อนไปถึงเมื่อปี พ.ศ. 2476 หลังจากที่ประเทศของเราได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ในการเลือกตั้งครั้งแรกนั้นเกิดขึ้นหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประมาณ 1 ปี จุดประสงค์ของการเลือกตั้งก็เพื่อจะให้ประชาชนที่เป็นคนไทยได้มีสิทธิและเสียงเลือกตัวแทนของตนเข้าไปบริหารปกครองประเทศ ตัวแทนเหล่านี้นจะเข้าไปทำหน้าที่ประขุมออกนโยบาย บริหารบ้านเมืองแทนเรา
ในการเลือกตั้งครั้งแรกของประวัติศาสตร์ไทยในปี พ.ศ. 2476 เป็นการเลือกตั้งในแบบทางอ้อมครั้งเดียวที่เกิดขึ้น เป็นช่วงที่พระยาพหล พลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ ในครั้งนั้นประเทศไทยมีทั้งหมด 70 จังหวัดและมีการเลือกตั้งผู้แทนได้จังหวัดละ 1 คน ยกเว้นจังหวัดพระนคร อุบลราชธานี มีผู้แทนได้ 3 คน จังหวัด เชียงใหม่มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครราชสีมา มีผู้แทนได้ 2 คน มีผู้แทนจากการแต่งตั้งอีก 78 คนเท่ากัน เมื่อรวมกันแล้วได้ 156 คนจัดตั้งเป็นคณะรัฐบาลมีวาระทั้งหมด 4 ปี หลังจากนั้นจึงจะมีการเลือกตั้งกันใหม่ ครั้งแรกของการเลือกตั้งมีผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งอยู่ทั่วประเทศทั้งหมด 4,278,231 คนและมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งในครั้งนี้ 1,773,532 คน ประเทศไทยของเรามีการเลือกตั้งมาแล้วทั้งหมด 27 ครั้งโดยครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2554 ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 9
ในช่วงเวลากว่า 85 ปีในการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น การเลือกตั้งได้ถูกปรับปรุงรูปแบบมีการพัฒนามากขึ้น เห็นได้จากการเลือกตั้งไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการเลือกคณะรัฐบาลที่ประกอบไปด้วย 2 สภาคือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ( ส.ส.) และสมาชิกรัฐสภา( ส.ว.) เท่านั้น แต่ยังมีการเลือกตั้งผู้แทนในระดับท้องถิ่นในตำแหน่งต่าง ๆ อาทิ ผู้ว่าราชการ สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเขต สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น ในปีพ.ศ.2540 ได้มีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญว่า การเลือกตั้งนับว่าเป็นหน้าที่ที่ประชาชนผู้มีอายุครบกำหนดใช้สิทธิ์จะต้องมาเลือกตั้งตามสิทธิ์ ซึ่งหมายความได้ว่า จากเดิมการมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งของประชาชนชาวไทยเป็นความสมัครใจ ใครจะออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งหรือไม่ก็ได้ แต่ปัจจุบันทุกคนมีหน้าที่ต้องออกมาใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้ง ผู้ที่ไม่ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งจะเสียสิทธิทางรัฐธรรมนูญคือ เสียสิทธิ์ในการยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งทุกระดับ เสียสิทธิ์ในการสมัครรับเลือกตั้งทุกระดับ เสียสิทธิ์ในการเข้าชื่อถอดถอนหรือคัดค้านต่าง ๆ ด้วย การเลือกตั้งถือเป็นการได้รับสิทธิ์และเสียงในประเทศของเราตามระบอบการปกครองประชาธิปไตยที่น่าภูมิใจในความเป็นคนไทย

การเลือกตั้งใช้ได้ในการเลือกประธานนักเรียน
การมีสิทธิเสรีภาพที่ดีจำเป็นต้องเริ่มต้นให้ได้เรียนรู้กันตั้งแต่ยังเด็ก ซึ่งการเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการได้ทดลองปฏิบัติกันจริงๆ ไม่ใช่แค่การเรียนรู้จากในตำรา หลักการประชาธิปไตยก็เช่นเดียวกันสำหรับเด็กๆ แล้วการที่พวกเขาได้รู้จักกับประชาธิปไตยผ่านตัวหนังสือมันไม่เพียงพอกับการที่ทำให้พวกเขานึกภาพออกอย่างชัดเจน นั่นเพราะแม้เขาจะรู้ว่าประชาธิปไตยคืออะไรแต่ในทางปฏิบัติเขาแทบไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่าการกระทำแบบไหนที่เรียกว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตย ส่วนหนึ่งก็มาจากด้วยความเป็นเด็กที่ยังไม่มีสิทธิ์มีเสียงอะไรมากพอต่อการทำสิ่งต่างๆ เพราะฉะนั้นการที่จะทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้กับประชาธิปไตยอย่างถูกต้อง โรงเรียนถือเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เด็กๆ เหล่านี้เข้าใจความเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น และแนวทางหนึ่งในการสร้างการเรียนรู้ด้านการเป็นประชาธิปไตยในโรงเรียนได้ก็คือ การเลือกตั้งประธานนักเรียน
การเลือกตั้งประธานนักเรียนกับการเรียนรู้ด้านประชาธิปไตย
หากย้อนกลับไปในอดีตการเลือกประธานนักเรียนส่วนใหญ่แล้วจะเป็นหน้าที่ของครูอาจารย์ที่มองว่านักเรียนคนไหนมีความสามารถที่จะก้าวขึ้นมาเป็นประธานนักเรียนเพื่อทำหน้าที่อย่างเหมาะสม แต่ปัจจุบันเมื่อสังคมพัฒนาไปมากขึ้น การเรียนรู้ของเด็กเองก็มีมากขึ้น การคัดเลือกประธานนักเรียนของหลายๆ โรงเรียนจึงได้มีการเปลี่ยนจากการคัดเลือกด้วยครูอาจารย์มาเป็นการคัดเลือกด้วยตัวนักเรียนเองตามระบอบประชาธิปไตยซึ่งเป็นระบอบการปกครองของประเทศไทยเองด้วย การที่นักเรียนเหล่านี้ได้มีโอกาสเลือกตั้งประธานนักเรียนไม่ใช่แค่การได้รู้จักเข้าคูหาเพื่อเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว แต่มันเริ่มต้นตั้งแต่การหาเสียงของบรรดาผู้สมัครทั้งหลายว่ามีแนวทางอย่างไรในการพัฒนาโรงเรียน เมื่อเป็นเช่นนี้เด็กๆ ในโรงเรียนเองก็จะเริ่มมีความเข้าใจในการเลือกตั้งของระบอบประชาธิปไตยมากขึ้นกว่าการจะเลือกคนที่ดีเข้ามาเป็นปากเป็นเสียงให้กับตัวเรานั้นควรเป็นคนที่มีนโยบายน่าสนใจ มีหลักการชัดเจน นี่คือการเรียนรู้ผ่านการซึมซับไปในตัวของเด็กๆ ทุกคน เวลาที่เขาได้พบกับเหตุการณ์เหล่านี้บ่อยๆ เด็กก็จะเข้าใจถึงเหตุผลว่าการเลือกคนที่ตนเองคิดว่าเหมาะสมที่สุดนั้นมีข้อดีอย่างมากแล้วมันก็จะส่งผลในยังตอนที่เขาโตด้วยเหมือนกัน
ไม่ว่าจะเป็นการฝึกฝนในด้านใดก็ตามแต่การรู้จักฝึกฝนตั้งแต่ยังเด็กถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้เด็กๆ เหล่านี้พัฒนาขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันข้างหน้าได้ แม้แต่เรื่องของประชาธิปไตยหรือการเลือกตั้งเองก็เช่นเดียวกัน การเลือกตั้งประธานนักเรียนอาจถูกมองเป็นเรื่องเล็กๆ ภายในโรงเรียนแต่ถ้าหากว่าลองมองให้ลึกจริงๆ จะรู้ว่านี่คือจุดเริ่มต้นที่ดีในการฝึกให้เด็กรู้จักกับคำว่าประชาธิปไตย