ผู้ลงสมัครเลือกตั้งในปี 62 ของไทย

การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2562 มีจำนวนผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตถึง 11,181 คน ซึ่งมากกว่าการเลือกตั้งในครั้งล่าสุด 4.6 เท่า ส่วนพรรคการเมืองจำนวนทั้งหมด 106 พรรค ตบเท้าเข้าสู่สนามเลือกตั้งจำนวน 81 พรรค และเลือกไม่ลงสนามการแข่งขัน 25 พรรค ทางด้านพรรคการเมืองซึ่งพึ่งจัดตั้งใหม่ ไม่ลงสนามเลือกตั้ง 2 พรรค ส่วนที่เหลืออีก 44 พรรค ลงสนามเลือกตั้ง ผู้ลงสมัครเลือกตั้งในปี 62 เพิ่มเกือบเท่าตัว 18% หลังจากมีการเปิดรับสมัครในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562 ทาง กกต. ได้ออกมาแสดงข้อมูล ส.ส. แบบแบ่งเขต จำนวน 6,779 ราย จากทั้งหมด 62 พรรค แต่ถึงจะปิดรับสมัครไปในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562 หากแต่เรื่องที่น่าสนใจ คือ ต่อมาในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562 ทาง …

นโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งที่จะถึง

2019 ประชาธิปัตย์ คือ พรรคการเมืองที่มีประวัติเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้น วันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2489 ในตลอดระยะเวลาผ่านมา มีหัวหน้าพรรคมาแล้ว 7 ท่าน และในจำนวนนี้มีถึง 4 ท่าน ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มาแล้ว ได้แก่ นายควง อภัยวงศ์ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นายชวน หลีกภัย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แต่ถ้าคุณลองย้อนดูสถิติของพรรคการเมืองนี้ คุณจะพบว่าเส้นทาง พรรคประชาธิปัตย์ ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ พรรคประชาธิปัตย์ สามารถเอาชนะการเลือกตั้งครั้งล่าสุด ได้คือ  การเลือกตั้ง เดือนกันยายน พ.ศ.2535 โดยพรรคประชาธิปัตย์ที่มี นายชวน หลีกภัย เป็นหัวหน้าพรรค ในขณะนั้น สามารถคว้าเก้าอี้ได้ถึง 79 ที่นั่ง สามารถเอาชนะพรรคชาติไทยซึ่งได้ 76 ที่นั่ง ไปเพียง 3 คนเท่านั้น หลังจากนั้นอีก 20 ปีต่อมา พรรคประชาธิปัตย์ไม่อาจเอาชนะการเลือกตั้งทั่วไปได้อีกเลยในช่วงเวลาอันยาวนาน พวกเขากลับประสบความสำเร็จระบบรัฐสภา โดยมีนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 …

ส่องผลการเลือกตั้ง 2562 อย่างเป็นทางการ

ปี 2562 เชื่อว่าเรื่องของการเลือกตั้งจะกลายเป็นประเด็นร้อนที่ถูกพูดถึงกันไปทั้งปี ตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง กติกาเลือกตั้ง วันเลือกตั้ง และผลการเลือกตั้ง โดยเฉพาะผลการเลือกตั้งที่ต้องยอมรับว่าการเลือกตั้งคราวนี้มีอะไรหลายอย่างที่น่าสนใจมาก เราจะไปส่องผลการเลือกตั้ง 2562 ว่ามีประเด็นอะไรย้อนหลังน่าสนใจบ้าง เราไปเก็บตกประเด็นดังกล่าวกัน คะแนนดิบ ที่ปรุงไม่เสร็จ กฎการเลือกตั้งคราวนี้ ต้องบอกว่า คะแนนดิบ หรือ คะแนนที่ผู้ลงคะแนนเสียงทุกคนลงให้กับผู้สมัครแบบแบ่งเขตมีความสำคัญมาก เพราะมันจะเป็นฐานคะแนนเพื่อคิด ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อไปพร้อมกัน ทีนี้เรื่องราวมันอลวนอลเวงตรงที่ว่า คะแนนดิบนั้น ทาง กกต. ประกาศออกมาไม่ตรงกันสักที บางเขตถึงขั้นต้องนับคะแนนใหม่กันเลย (ซึ่งก็ไม่ตรงกับที่แจ้งไว้อีก) ล่าสุดผลการเลือกตั้งออกมา มีการรับรอง ส.ส. แต่ก็ยังไม่มีการประกาศคะแนนดิบออกมาอย่างแท้จริง เมื่อตัวเลขไม่ได้ มันก็เลยทำให้ยิ่งดูสับสนไปอีก เรียกว่า คะแนนดิบที่ปรุงไม่เสร็จะดีกว่า วิธีการคำนวณ ส.ส. กลายเป็นประเด็นร้อนอย่างต่อเนื่องเลยทีเดียว สำหรับสูตรการคำนวณ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ หรือ ปาร์ตี้ลิสต์ ที่ต้องเอาคะแนนดิบ หรือ คะแนนเสียงตกน้ำมาคิด ซึ่งวิธีนี้แทบจะไม่มีใครใช้กันแล้วในโลกใบนี้ แต่เรายังใช้อยู่ เรื่องมันไม่จบเพียงแค่นั้น พอตัวเลขออกมา กลับยิ่งสร้างความปวดหัวขึ้นไปอีก เมื่อวิธีการคำนวณ ส.ส. นั้นไม่ลงตัว การปัดเศษคะแนนให้กับพรรคเล็กที่คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ กลายเป็นเรื่องที่ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ แม้ทาง กกต. …