2019 บัตรเลือกตั้งของ ส.ส. ได้เหลือเพียงใบเดียว ส่งผลให้พฤติกรรมการเมืองของทั้ง ผู้เล่น กับ ผู้เลือก ต้องเปลี่ยนแปลงไป ประชาชนเหลืออำนาจตัดสินใจเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น โดยนำมาใช้ในการเลือก ส.ส. เขต แต่ทว่าในการลงคะแนนเสียงของประชาชนแต่ละคน อาจตัดสินใจได้อย่างแตกต่างกันไป อีกทั้งในบางครั้งความต้องการของประชาชนก็อาจมีการขัดแย้งกันเอง เช่น ชอบนาย ข. แต่นาย ข. ดันไปอยู่ในพรรคที่ไม่ต้องการ แล้วอย่างนี้คนๆนั้นจะยังคงเลือกนาย ข. อยู่หรือไม่ รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2560 สร้างความได้เปรียบทางการเมืองให้แก่พรรคของผู้มีอำนาจ ทำให้นำไปสู่การให้ความสำคัญกับตัวบุคคลมากกว่าพรรค รวมทั้งพยายามปิดกั้นการใช้ชื่อพรรคหาเสียงดึงดูดใจผู้คน ด้วยการออกแบบให้แต่ละเขตเลือกตั้งใช้หมายเลขแตกต่างกัน อาจส่งผลให้ประชาชนหลายล้านคนเกิดความสับสนมึนงงได้ เปลี่ยน.รูปแบบหาเสียงของพรรคการเมือง จากความยุ่งยากซับซ้อนชวนหัวของระบบเลือกตั้งใหม่ ส่งผลให้พรรคฝ่ายที่ชนะการเลือกตั้ง ส.ส. เขต อาจไม่ได้ครอบครองเสียงข้างมากสุดในสภา ทำให้อดีตพรรคเพื่อไทย จำต้องปรับเปลี่ยนหาทางแตกพรรค พร้อมตั้งรับกติกาใหม่ โดยพรรคเพื่อไทย กับพรรคไทยรักษาชาติ จะลงหาเสียงหลีกเลี่ยงพื้นที่กัน โดยไม่ให้เกิดการทับซ้อน ซึ่งมันจะส่งผลทำให้ประชาชนเกิดความสับสน เพราะฉะนั้นถ้าเขตไหนมีแนวโน้มว่าจะชนะการเลือกตั้งก็จะลงสนามในนามเพื่อไทย แต่เขตไหนเกิดความสุ่มเสี่ยงก็ส่งผู้สมัครในนามไทยรักษาชาติ หลายพรรคการเมืองเริ่มเปิดนโยบายเพื่อหาเสียง ทำให้ประชาชนรู้จัก คุ้นหน้าคุ้นตา หากแต่สิ่งเหล่านี้ก็ไม่ใช่ตัวแปรหลักที่พวกเขามุ่งแข่งขัน หลังจากที่ต้องพบกับความลำบากในการหาเสียง เพราะไม่อาจป่าวประกาศได้ว่า ‘เลือกพรรค ข. เลือกเบอร์ 0 ทั้งประเทศ’ …
บทสรุปของการเลือกตั้งปี 62 ของไทยจะเป็นในทิศทางใดได้บ้าง
