พามารู้จักประเทศที่ไร้การเลือกตั้ง และขึ้นชื่อเรื่องโหดที่สุด

netelection07

วันนี้จะพามารู้จักกับประเทศที่ไม่มีการเลือกตั้งที่ชื่อประเทศเอริเทรีย ที่มีประชากรทั้งสิ้น 6 ล้านคน ประเทศตั้งอยู่เขาแอฟริกา ถือเป็นประเทศที่มีความเป็นเผด็จการ โดยผู้คนจะไม่มีสิทธิแสดงออกทางเสรีภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องเสรีภาพทางศาสนา และเป็นประเทศที่ไม่เคยเกิดการเลือกตั้งใด ๆ ทั้งสิ้น ประชาชนทั่วไปถูกเกณฑ์ทหารเข้ารับราชการ โดยไม่มีกำหนดปลดระวาง ซึ่งขึ้นอยู่กับทางรัฐบาลจะตัดสินใจว่าจะมีการปลดเมื่อใด เป็นเวลากว่า 20 ปีที่ประเทศนี้ถูกยอมรับว่ามีตัวตนเมื่อปี 1993 ประเทศถูกปกครองโดยประธานาธิบดี Isais Afwerki ภายใต้การทำงานด้วยกลุ่ม People’s Front for Democracy and Justice (PFDJ) ภายในระยะเวลาต้น ๆ ดูเหมือนว่าประเทศนี้จะดูมีแววในการดำเนินงานไปในแบบประชาธิปไตย แต่แล้ว Isais ก็จัดการปิดประเทศของตนและปกครองด้วยอำนาจแบบเด็ดขาด เขาดูเหมือนจะกลายเป็นคนหวาดระแวงไปทุกอย่าง กลัวที่จะสูญเสียการปกครองของประเทศตัวเอง ตั้งแต่นั้นมาเราก็ไม่เคยเห็นวี่แววของการเลือกตั้งในประเทศนี้เลย แม้แต่การเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่เน้นถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนในปี 1997 ยังถูกระงับไป ในคุกมีนักโทษกว่า 10,000 ที่มีทั้งนักข่าว นักวิจารย์ ผู้นับถือศาสนา ทหารหนีทัพ หรือแม้แต่ประชาชนที่พยายาหนีออกจากประเทศตนเอง การจำคุกมีตั้งแต่เป็นปี ถึงสิบ ๆ ปี โดยตลอดเวลาที่นักโทษอยู่ในที่คุมขังจะถูกตัดขาดการติดต่อกับผู้อื่น โดยจะไม่มีการสืบสวน หรือ ขึ้นศาลใด ๆ ทั้งสิ้น กองทัพส่วนใหญ่มีทั้งผู้หญิงและผู้ชาย …

ประวัติเส้นทางการเลือกตั้งครั้งแรกของประเทศพม่า

netelection03

หลังจากที่นางออง ซาน ซูจี และพรรคของเธอได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งเป็นรัฐบาล แต่ก็ต้องเป็นอันโมฆะไป ซึ่งเป็นไปตามกฎระเบียบข้อบังคับผู้มีคุณสมบัติในการเข้าสมัครเป็นประธานาธิบดีจะต้องมีพ่อแม่ และคู่สมรสที่เป็นคนสัญชาติเดียวกันเท่านั้น เนื่องจากนางออง ซาน ซูจี ได้แต่งงานกับชายชาวอังกฤษ พร้อมกับมีลูกสองคนที่ถือสัญชาติอังกฤษ เป็นผลให้ถูกถอนจากการเลือกตั้ง และถูกกักบริเวณในที่สุด จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้สถานการณ์ภายในประเทศเมียนม่าอยู่ในภาวะที่ไม่ปกติ จากความกดดันของนานา ประเทศที่ต้องการผลักดันให้เมียนม่าปกครองด้วยระบบประชาธิปไตย และต้องการให้มีการปล่อยตัวนางออง ซาน ซูจี พร้อมกับยอมรับผลของการเลือกตั้งที่เธอได้รับ สรุปเรื่องราวต่าง ๆ ในประเทศเมียนมาอย่างคร่าว ๆ 1. นางออง ซาน ซูจี และพรรคของเธอหวังจะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างเป็นธรรม 2. ปัจจุบันเธอยังคงถูกห้ามไม่ให้ขึ้นตำแหน่งประธานาธิบดี 3. สหประชาชาติมีการเฝ้าจับตาดู และประกาศเตือนห้ามไม่ให้มีการโกงผลการเลือกตั้งใด ๆ 4. พรรคคู่แข่ง USDP ประกาศว่าจะได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นจาก 75 เปอร์เซ็นของผลการเลือกตั้ง ประวัติทางการเป็นเมืองขึ้นของเมียนมา 1. ในปี 1947 หลังจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 บิดาของนางออง ซาน ซูจี ได้ประกาศความเป็นเอกราช และได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ ต่อมาอีก 1 เดือนเขาได้ถูกสังหารโดยคู่แข่งทางการเมือง พร้อมกับสมาชิกในพรรคของเขาอีก 6 คน 2. …

จุดเกิดเนิดและประวัติศาสตร์อันยาวนานของการเลือกตั้ง

netelection06

การเลือกตั้งมีมาตั้งนานมากแล้วกว่าหลายพันปี เมื่อสมัยอดีตกาล ย้อนกลับเมื่อถึงยุคกรีซโบราณ และในสมัยกรุงโรมยังรุ่งเรือง ต่อมายังยุคสมัยเวทที่มีตำแหน่ง ราจา (Raja) ของเผ่าเก่าแพ่อย่าง Gara โดยตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งเทียบเท่ากษัตริย์ซึ่งปกครองทางใต้ของเอเชีย ส่วนอิสตรีจะเรียกว่า “รานี” (Ranee) ซึ่งเปรียบเสมือนพระราชินี โดยการที่จะมาเป็นราจา ได้นั้น ต้องได้รับผ่านการรับเลือกเพียงเท่านั้น บุคคลนั้นจะต้องเป็นนักรบชั้นสูง (Kshatriya varna) และเป็นบุตรของราจาคนก่อน โดยต่อมาวิธีคัดเลือกได้ถูกเปลี่ยนมาใช้การเลือกโดยส่งตัวแทนของแต่ละฝ่ายออกมา โดยใช้กล่องคะแนนเสียง (ในสมัยนั้นใช้หม้อ หรือไห) ในการหย่อนกระดาษของผู้ลงคะแนน กระดาษจะถูกปิดผนึกและมัดอย่างแน่นหนาจนกว่าจะมีการเรียกนับคะแนน ต่อมาในยุคสมัยจักรวรรดิปาละ ซึ่งถือเป็นตำแหน่งที่ต้องถูกเลือกจากคณะขุนนางกลุ่มหนึ่ง จนตั้งแต่นั้นมา การเลือกตั้งก็แพร่ขยายไปเกือบทั่วทั้งทวีป การเลือกตั้งในปัจจุบันใช้เวลานานพอสมควรกว่าจะเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพอย่างทุกวันนี้ โดยเริ่มมีระบบแบบนี้ให้เห็นกันตั้งแต่ในช่วงศตวรรษที่ 17 ซึ่งประเทศบางกลุ่มได้มีไอเดียในการที่จะแก้ไขการเลือกตั้งให้มีประสิทธิภาพขึ้น โดยเริ่มใช้ในแถบอเมริกาเหนือ รวมไปถึงทวีปยุโรป เช่น ประเทศอังกฤษ และปัญหาที่ตามมาคือสิทธิในการเลือกตั้ง ใครบ้างที่สามารถออกเสียงได้ ในสมัยนั้นผู้หญิงแทบจะไม่ได้สิทธิเท่าผู้ชาย จนช่วงปี 1920 หลายประเทศเริ่มให้ความสำคัญของสตรีและผลักดันให้ผู้หญิงสามารถลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้ ในหลายครั้งที่ประเทศลัทธิอำนาจนิยม เลือกที่จะใช้การเลือกตั้งเป็นเครื่องมือในการหลอกผู้คน ทำให้มีความหวังในเสรีภาพอันหลอกลวง ทำไมพวกเขาถึงกล้าที่จะให้มีเลือกตั้งเกิดขึ้นในประเทศได้น่ะเหรอ มีเพียงเหตุผลเดียวเท่านั้น เพราะผู้ลงสมัคร หรือคู่แข่งของพวกเขาทุกคนล้วนอยู่ใต้การควบคุมของรัฐบาลตนเองทั้งสิ้น สิทธิในการออกเสียง หัวใจของการเลือกตั้ง คำถามคือใครบ้างที่สามารถจะออกเสียงลงคะแนนได้ แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนในประเทศที่จะลงคำแนนเลือกตั้งได้ทั้งหมดทุกคน แต่ในหลายประเทศมีการจำกัดช่วงอายุขั้นต่ำของผู้ลงคะแนน คุณสมบัติสำคัญคือจะต้องเป็นประชาชนที่ถือสัญชาติในประเทศนั้น ๆ และมีบัตรประจำตัว …