การเลือกตั้งในประเทศอื่นๆเป็นแบบไหนอย่างไร

netelection01

การเลือกตั้งในประเทศเยอรมนี ระบบการเมืองของประเทศเยอรมัน 1. มีการเลือกตั้งสหพันธ์ทุกๆ 4 ปี ให้ทำการจัดการเลือกตั้งภายในระยะเวลา 46 – 48 เดือน หลังการประชุมบุนเดชตัก หรือสามารถจัดการเลือกตั้งก่อนได้ ในกรณีมีเรื่องพิเศษทางรัฐธรรมนูญ ผู้ที่มีสัญชาติเยอรมันอายุเกิน 18 ปี ซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศเยอรมนีอย่างน้อย 3 เดือนมีสิทธิเลือกตั้ง สภานิติบัญญัติสหพันธ์ในประเทศเยอรมนีมีรัฐสภา 1 สภา ได้แก่ บุนเดชตัก ส่วนบุนเดซรัท จะเป็นตัวแทนของภูมิภาคไม่ถือว่าเป็นสภาเนื่องจากสมาชิกไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง การเลือกตั้งสมาชิกนี้ใช้ระบบสัดส่วนสมาชิกผสม คือ ผู้ออกเสียงลงคะแนนมี 2 คะแนนเสียง คะแนนแรก ให้ใช้เลือกสมาชิกบุนเดชตักในเขตเลือกตั้งของตัวเอง คะแนนเสียงที่ 2 ออกเสียงให้แก่พรรคการเมือง ถ้าพรรคการเมืองใดได้รับคะแนนเสียงต่ำสุด ที่นั่งทั้งหมดโดยกำหนดในการจัดสรรในสัดส่วนตามคะแนนเสียงที่ 2 แปลว่า พรรคการเมืองที่ชนะในเขตในรัฐ 1 มากกว่าผู้มีสิทธิตามจำนวนของคะแนนเสียงพรรคการเมืองอันได้ในรัฐนั้นซึ่งคอยเก็บที่นั่งส่วนเกินเหล่านั้นไว้ การเลือกตั้งประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกา การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกานั้น มีขั้นตอนค่อนข้างละเอียด แต่ข้อสำคัญแน่ๆ คือ คนที่มาจากทุกอาชีพ และเป็นอาชีพอันสุจริตล้วนมีโอกาสได้เป็นประธานาธิบดีกันทั้งสิ้น คุณสมบัติของผู้สมัครประธานาธิบดี ต้องมีอายุ 35 ปีขึ้นไป มีสัญชาติอเมริกันตั้งแต่เกิด ต้องอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกามาไม่ต่ำกว่า 14 ปี ไม่เคยเป็นประธานาธิบดีมาแล้ว …

พรรคการเมืองในพม่ามีกี่พรรคอะไรบ้าง

netelection02

การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศพม่า จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนประชาชน จำนวน 323 ที่นั่ง จาก 440 ที่นั่ง จำนวน 110 ที่นั่งที่เหลือ เป็นโควตาพิเศษอันได้รับจาก ผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพ ส่วนอีก 7 ที่นั่ง จะไม่มีการเลือกตั้ง เพราะคณะกรรมการหวั่นเกรงเรื่องความปลอดภัย 2. สมาชิกวุฒิสภา มีการเลือกตั้ง 168 ที่นั่ง จากทั้งหมด 224 ที่นั่ง ซึ่งเป็นการเลือกสมาชิกวุฒิสภา 12 คนจากแต่ละเขต อีก 56 ที่นั่ง เป็นโควตาจากผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพ 3. สภาระดับภาคและรัฐ จะมีการเลือกตัวแทนจำนวน 637 คนเข้าไปนั่งในสภาระดับภาคและรัฐฯ ในศึกการเลือกตั้งสมาชิกสภาในพม่าในปี พ.ศ. 2558 มีพรรคการเมืองมากถึง 93 พรรค แต่สุดท้าย ก็มีเพียงแค่ 2 พรรคการเมืองใหญ่เท่านั้น ที่ได้มาประชันหน้ากันในศึกเลือกตั้งครั้งนี้ ได้แก่ พรรคสหสามัคคีและการพัฒนา ภายใต้การนำของ ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง โดยเป็นพรรครัฐบาลในปัจจุบัน …

อุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตยของไทย

netelection04

  ต้องยอมรับว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยจะเน้นในเรื่องของการมีสิทธิเสรีภาพของผู้คนที่อาศัยในประเทศนั้นๆ เป็นหลัก ทำให้ทุกคนต่างก็มีสิทธิ์มีเสียงในการนำเสนอสิ่งต่างๆ หากมองว่าเป็นสิ่งที่สามารถสร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับคนอื่นๆ ได้มากมาย อย่างไรก็ตามแม้ทุกคนจะมีสิทธิ์ในการออกเสียงแต่สุดท้ายมันก็จะต้องหยุดอยู่ที่ว่าเสียงข้างมากเป็นอย่างไรอยู่ดี ถึงกระนั้นประเทศไทยของเราก็ยังคงมีอุปสรรคมากมายในการการพัฒนาประชาธิปไตย อุปสรรคของการพัฒนาประชาธิปไตยของไทย ขาดความรู้ความเข้าใจในการเป็นประชาธิปไตย – พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือคนไทยมักจะยังคงนิยมการเลือกตังแบบตัวบุคคลมากกว่าเรื่องของนโยบายซึ่งเอาเข้าจริงสิ่งเหล่านี้ยังถือว่าเป็นการไม่รู้จักประชาธิปไตยอย่างแท้จริง รวมไปถึงการเอาผลประโยชน์ของตนเองเป็นหลักมากกว่าการนึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวม เรื่องของการซื้อสิทธิ์ขายเสียงที่ถือว่าเป็นข้อห้ามสำคัญของประชาธิปไตยแต่เรายังคงเห็นได้ในประเทศไทย รวมไปถึงการใช้อิทธิพลเพื่อคดโกงการเลือกตั้งให้พรรคพวกของตนเองเป็นผู้ชนะเพื่อหาผลประโยชน์ต่อไป ผู้สมัครรับเลือกตั้งขาดคุณสมบัติที่เหมาสม – แค่การใช้อิทธิพลของตนเองในพื้นที่การเลือกตั้งที่ตนเองลงสมัครรับเลือกตั้งเอาไว้แต่นี้ก็ถือว่าเป็นการขาดคุณสมบัติที่ดีของผู้สมัครรับเลือกตั้งแล้ว เพราะการลงสมัครรับเลือกตั้งที่ถูกควรใช้ประชาชนเลือกจากความสามารถไม่ใช่การใช้อิทธิพลหรือการมีชื่อเสียงของตนเอง แล้วคิดดูว่าเมื่อเลือกคนที่มีอิทธิพลแต่ไม่มีความสามารถเข้าไปมันก็ยิ่งทำให้ประเทศไทยไม่พัฒนา ระบบการเลือกตั้งขาดความรอบคอบ รัดกุม – ทั้งการปล่อยให้นักธุรกิจที่แฝงตัวในคราบนักการเมืองเข้าไปมีสิทธิ์มีเสียงในภายในรัฐสภาด้วยการซื้อเสียง การติดสินบน หรืออื่นๆ เมื่อคนพวกนี้เข้าไปแล้วก็จะคิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตนที่ควรได้โดยไม่ได้มีการคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งตรงจุดนี้ต้องยอมรับว่าระบบการเลือกตั้งไทยยังไม่รัดกุมมากพอจึงปล่อยคนเหล่านี้ให้เข้าไปได้ มีพรรคการเมืองเยอะเกินไป – เมื่อมีพรรคเล็กเยอะเกินไปก็เป็นโอกาสที่นายทุนจากพรรคใหญ่จะซื้อเสียงกับพรรคเล็กๆ ที่มีฐานเสียงในแต่ละพื้นที่ให้เข้ามาเป็นสมาชิกของตนเอง ซึ่งเมื่อพรรคเยอะเกินไประบบการบริหารประเทศก็จะวุ่นวายตามไปด้วยจากจำนวนคนที่มากเกิน รัฐบาลมีความอ่อนแอและการทุจริต – เป็นปัญหาหลักอีกข้อที่ทำให้ประชาธิปไตยของไทยไม่มีการพัฒนา เมื่อรัฐบาลอ่อนแอ มีการทุจริต ก็เกิดการประท้วง ขับไล่ ประเทศชาติก็ไม่เกิดการพัฒนาไปข้างหน้าแถมยังมีปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจอีกต่างหาก