การเลือกตั้งนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร

ประเทศไทยของเรามีระบอบการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุข ถ้าจะย้อนกลับไปดูถึงที่มาที่ไปของระบอบการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตยซึ่งมีการเลือกตั้งเป็นเสมือนเครื่องมือหลักของระบอบแล้วละก็ คงต้องย้อนไปถึงเมื่อปี พ.ศ. 2476 หลังจากที่ประเทศของเราได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ในการเลือกตั้งครั้งแรกนั้นเกิดขึ้นหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประมาณ 1 ปี จุดประสงค์ของการเลือกตั้งก็เพื่อจะให้ประชาชนที่เป็นคนไทยได้มีสิทธิและเสียงเลือกตัวแทนของตนเข้าไปบริหารปกครองประเทศ ตัวแทนเหล่านี้นจะเข้าไปทำหน้าที่ประขุมออกนโยบาย บริหารบ้านเมืองแทนเรา ในการเลือกตั้งครั้งแรกของประวัติศาสตร์ไทยในปี พ.ศ. 2476 เป็นการเลือกตั้งในแบบทางอ้อมครั้งเดียวที่เกิดขึ้น เป็นช่วงที่พระยาพหล พลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ ในครั้งนั้นประเทศไทยมีทั้งหมด 70 จังหวัดและมีการเลือกตั้งผู้แทนได้จังหวัดละ 1 คน ยกเว้นจังหวัดพระนคร อุบลราชธานี มีผู้แทนได้ 3 คน จังหวัด เชียงใหม่มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครราชสีมา มีผู้แทนได้ 2 คน มีผู้แทนจากการแต่งตั้งอีก 78 คนเท่ากัน เมื่อรวมกันแล้วได้ 156 คนจัดตั้งเป็นคณะรัฐบาลมีวาระทั้งหมด 4 ปี หลังจากนั้นจึงจะมีการเลือกตั้งกันใหม่ ครั้งแรกของการเลือกตั้งมีผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งอยู่ทั่วประเทศทั้งหมด  4,278,231 คนและมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งในครั้งนี้  1,773,532 คน  ประเทศไทยของเรามีการเลือกตั้งมาแล้วทั้งหมด 27 ครั้งโดยครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2554 ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 9 ในช่วงเวลากว่า …

การเลือกตั้งใช้ได้ในการเลือกประธานนักเรียน

การมีสิทธิเสรีภาพที่ดีจำเป็นต้องเริ่มต้นให้ได้เรียนรู้กันตั้งแต่ยังเด็ก ซึ่งการเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการได้ทดลองปฏิบัติกันจริงๆ ไม่ใช่แค่การเรียนรู้จากในตำรา หลักการประชาธิปไตยก็เช่นเดียวกันสำหรับเด็กๆ แล้วการที่พวกเขาได้รู้จักกับประชาธิปไตยผ่านตัวหนังสือมันไม่เพียงพอกับการที่ทำให้พวกเขานึกภาพออกอย่างชัดเจน นั่นเพราะแม้เขาจะรู้ว่าประชาธิปไตยคืออะไรแต่ในทางปฏิบัติเขาแทบไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่าการกระทำแบบไหนที่เรียกว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตย ส่วนหนึ่งก็มาจากด้วยความเป็นเด็กที่ยังไม่มีสิทธิ์มีเสียงอะไรมากพอต่อการทำสิ่งต่างๆ เพราะฉะนั้นการที่จะทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้กับประชาธิปไตยอย่างถูกต้อง โรงเรียนถือเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เด็กๆ เหล่านี้เข้าใจความเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น และแนวทางหนึ่งในการสร้างการเรียนรู้ด้านการเป็นประชาธิปไตยในโรงเรียนได้ก็คือ การเลือกตั้งประธานนักเรียน การเลือกตั้งประธานนักเรียนกับการเรียนรู้ด้านประชาธิปไตย หากย้อนกลับไปในอดีตการเลือกประธานนักเรียนส่วนใหญ่แล้วจะเป็นหน้าที่ของครูอาจารย์ที่มองว่านักเรียนคนไหนมีความสามารถที่จะก้าวขึ้นมาเป็นประธานนักเรียนเพื่อทำหน้าที่อย่างเหมาะสม แต่ปัจจุบันเมื่อสังคมพัฒนาไปมากขึ้น การเรียนรู้ของเด็กเองก็มีมากขึ้น การคัดเลือกประธานนักเรียนของหลายๆ โรงเรียนจึงได้มีการเปลี่ยนจากการคัดเลือกด้วยครูอาจารย์มาเป็นการคัดเลือกด้วยตัวนักเรียนเองตามระบอบประชาธิปไตยซึ่งเป็นระบอบการปกครองของประเทศไทยเองด้วย การที่นักเรียนเหล่านี้ได้มีโอกาสเลือกตั้งประธานนักเรียนไม่ใช่แค่การได้รู้จักเข้าคูหาเพื่อเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว แต่มันเริ่มต้นตั้งแต่การหาเสียงของบรรดาผู้สมัครทั้งหลายว่ามีแนวทางอย่างไรในการพัฒนาโรงเรียน เมื่อเป็นเช่นนี้เด็กๆ ในโรงเรียนเองก็จะเริ่มมีความเข้าใจในการเลือกตั้งของระบอบประชาธิปไตยมากขึ้นกว่าการจะเลือกคนที่ดีเข้ามาเป็นปากเป็นเสียงให้กับตัวเรานั้นควรเป็นคนที่มีนโยบายน่าสนใจ มีหลักการชัดเจน นี่คือการเรียนรู้ผ่านการซึมซับไปในตัวของเด็กๆ ทุกคน เวลาที่เขาได้พบกับเหตุการณ์เหล่านี้บ่อยๆ เด็กก็จะเข้าใจถึงเหตุผลว่าการเลือกคนที่ตนเองคิดว่าเหมาะสมที่สุดนั้นมีข้อดีอย่างมากแล้วมันก็จะส่งผลในยังตอนที่เขาโตด้วยเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นการฝึกฝนในด้านใดก็ตามแต่การรู้จักฝึกฝนตั้งแต่ยังเด็กถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้เด็กๆ เหล่านี้พัฒนาขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันข้างหน้าได้ แม้แต่เรื่องของประชาธิปไตยหรือการเลือกตั้งเองก็เช่นเดียวกัน การเลือกตั้งประธานนักเรียนอาจถูกมองเป็นเรื่องเล็กๆ ภายในโรงเรียนแต่ถ้าหากว่าลองมองให้ลึกจริงๆ จะรู้ว่านี่คือจุดเริ่มต้นที่ดีในการฝึกให้เด็กรู้จักกับคำว่าประชาธิปไตย