ก่อนเข้าคูหา วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2562 นี้ เราจะมาขอแนะนำตัวพรรคหลักในการเลือกตั้งอันน่าตื่นเต้นของประเทศไทย ว่าแต่ละพรรคมีที่มาที่ไปอย่างไร และมีใครเป็นกำลังหลักบ้าง
พรรคพลังประชารัฐ
มาจากกลุ่มไทยรักไทยเดิม ต่อมาได้มีการควบรวมกับกลุ่มแกนนำ กปปส. รวมทั้ง ดเพื่อ4 อดีตรัฐมนตรีในรัฐบาล คสช. ด้วยการชู พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อช่วงชิงตำแหน่งอีกสมัย ด้วยขุมกำลังที่มารวมพลังกันทั้งหมดนี้ อีกทั้งยังเริ่มต้นการดูดนักการเมืองระดับอดีต ส.ส.จากพรรคต่างๆ จึงได้กำลังคนไปเป็นจำนวนมาก พวกเขาจึงตั้งเป้าหมายว่าในการเลือกตั้งนี้จะต้องยึดเก้าอี้ ส.ส. ไปได้อย่างน้อย 150 ที่นั่ง
พรรคเพื่อไทย
พร้อมกลับมาสู้ศึกเลือกตั้งอีกครั้ง โดยเปลี่ยนผู้นำคนใหม่ สำหรับจุดกำเนิดของพรรคเพื่อไทย มาจากพรรคไทยรักไทยในอดีต สืบมาจนถึงพรรคพลังประชาชน แต่ต่อมาทั้ง 2 พรรคถูกตัดสินให้ยุบพรรค ก่อนจะก่อกำเนิดกลายมาเป็นพรรคเพื่อไทยในปัจจุบัน ด้วยกติกาแบบใหม่จึงทำให้พรรคเพื่อไทยวางกลยุทธ์กระจายตัว จากการแกนนำหลายคนซึ่งเคยอยู่ร่วมพรรคเดียวกัน จำเป็นต้องแยกออกไปเพื่อตั้งพรรคการเมืองใหม่ โดยมี คุณหญิง สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็นประธานยุทธศาสตร์การเลือกตั้งของพรรค พร้อมด้วย นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมผู้มีฉายาว่า แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี และนายชัยเกษม นิติสิริ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
พรรคอนาคตใหม่
ตัวละครใหม่น่าสนใจ กำลังเป็นกระแสมาแรงสุดในขณะนี้ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตรองประธานบริหารกลุ่มบริษัทไทยซัมมิท มีชื่อเสียงรู้จักกันดีว่า ‘พ่อของฟ้า’ และ รศ.ปิยบุตร แสงกนกกุล อดีตอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากจุดเริ่มต้นที่ต้องการสร้างสรรค์อนาคตของสังคมไทย จึงทำให้พวกเขารวบรวมบุคคลหลากหลายมารวมกลุ่มกันจัดตั้งพรรคการเมือง เน้นสร้างพรรคการเมืองแบบใหม่ที่ผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคไม่จำเป็นต้องพึ่งพานายทุน หาเงินมาจากการขายของและการเปิดรับค่าบำรุง
ที่ผ่านมา นายธนาธรถูกกล่าวหาหลายข้อหา หากแต่เขาก็เดินหน้าสร้างการเมืองด้วยอุดมการณ์ ด้วยการส่งผู้สมัครให้มากสุดและไปทุกแห่งหน อีกทั้งยังมีนโยบายชัดเจน คือ ไม่เอารัฐประหาร อีกทั้งยังไม่ต้องการมีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับเผด็จการ
พรรคไทยรักษาชาติ
มีกระแสร้อนแรงอยู่ในช่วงขณะหนึ่ง หลังจากเสนอพระนาม ‘ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดล’ เข้าร่วมชิงเก้าอี้นายกรัฐมนตรี ก่อนจะมีพระราชโองการออกมาในคืนเดียวกันนั้นเอง ทำให้ กกต. มีมติยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาให้ยุบพรรคไทยรักษาชาติ โดยนัดพิจารณาครั้งต่อไปในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ จึงทำให้ชะตากรรมของพรรคไทยรักษาชาติยังคงไม่แน่นอนเอาเสียเลย
พรรคการเมืองของไทยที่อยู่ในกระแสการเลือกตั้งปี 62
