การเลือกตั้งนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร

ประเทศไทยของเรามีระบอบการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุข ถ้าจะย้อนกลับไปดูถึงที่มาที่ไปของระบอบการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตยซึ่งมีการเลือกตั้งเป็นเสมือนเครื่องมือหลักของระบอบแล้วละก็ คงต้องย้อนไปถึงเมื่อปี พ.ศ. 2476 หลังจากที่ประเทศของเราได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ในการเลือกตั้งครั้งแรกนั้นเกิดขึ้นหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประมาณ 1 ปี จุดประสงค์ของการเลือกตั้งก็เพื่อจะให้ประชาชนที่เป็นคนไทยได้มีสิทธิและเสียงเลือกตัวแทนของตนเข้าไปบริหารปกครองประเทศ ตัวแทนเหล่านี้นจะเข้าไปทำหน้าที่ประขุมออกนโยบาย บริหารบ้านเมืองแทนเรา

ในการเลือกตั้งครั้งแรกของประวัติศาสตร์ไทยในปี พ.ศ. 2476 เป็นการเลือกตั้งในแบบทางอ้อมครั้งเดียวที่เกิดขึ้น เป็นช่วงที่พระยาพหล พลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ ในครั้งนั้นประเทศไทยมีทั้งหมด 70 จังหวัดและมีการเลือกตั้งผู้แทนได้จังหวัดละ 1 คน ยกเว้นจังหวัดพระนคร อุบลราชธานี มีผู้แทนได้ 3 คน จังหวัด เชียงใหม่มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครราชสีมา มีผู้แทนได้ 2 คน มีผู้แทนจากการแต่งตั้งอีก 78 คนเท่ากัน เมื่อรวมกันแล้วได้ 156 คนจัดตั้งเป็นคณะรัฐบาลมีวาระทั้งหมด 4 ปี หลังจากนั้นจึงจะมีการเลือกตั้งกันใหม่ ครั้งแรกของการเลือกตั้งมีผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งอยู่ทั่วประเทศทั้งหมด  4,278,231 คนและมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งในครั้งนี้  1,773,532 คน  ประเทศไทยของเรามีการเลือกตั้งมาแล้วทั้งหมด 27 ครั้งโดยครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2554 ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 9

ในช่วงเวลากว่า 85 ปีในการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น การเลือกตั้งได้ถูกปรับปรุงรูปแบบมีการพัฒนามากขึ้น เห็นได้จากการเลือกตั้งไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการเลือกคณะรัฐบาลที่ประกอบไปด้วย 2 สภาคือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ( ส.ส.) และสมาชิกรัฐสภา( ส.ว.) เท่านั้น แต่ยังมีการเลือกตั้งผู้แทนในระดับท้องถิ่นในตำแหน่งต่าง ๆ อาทิ ผู้ว่าราชการ สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเขต สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น ในปีพ.ศ.2540 ได้มีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญว่า การเลือกตั้งนับว่าเป็นหน้าที่ที่ประชาชนผู้มีอายุครบกำหนดใช้สิทธิ์จะต้องมาเลือกตั้งตามสิทธิ์ ซึ่งหมายความได้ว่า จากเดิมการมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งของประชาชนชาวไทยเป็นความสมัครใจ ใครจะออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งหรือไม่ก็ได้ แต่ปัจจุบันทุกคนมีหน้าที่ต้องออกมาใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้ง ผู้ที่ไม่ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งจะเสียสิทธิทางรัฐธรรมนูญคือ เสียสิทธิ์ในการยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งทุกระดับ  เสียสิทธิ์ในการสมัครรับเลือกตั้งทุกระดับ เสียสิทธิ์ในการเข้าชื่อถอดถอนหรือคัดค้านต่าง ๆ ด้วย การเลือกตั้งถือเป็นการได้รับสิทธิ์และเสียงในประเทศของเราตามระบอบการปกครองประชาธิปไตยที่น่าภูมิใจในความเป็นคนไทย